ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่การขุดเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling: HDD)
ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่การขุดเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling: HDD)
เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตามรูปแบบได้จากผู้ว่าจ้าง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้วจึงดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. ติดตั้งป้ายโครงการ, ป้ายสัญญาณ, ป้ายเตือนการทำงาน,ไฟกระพริบ, สัญญาณไฟ, ปักแนวก้นขอบเขต พื้นที่การทำงาน เพื่อความปลอดภัย ตามกฎระเบียบ ขอบังคับ หรือตามมาตรฐานการติดตั้งป้าย สัญญาณเตือน การใชพื้นที่ทำงานของเครื่องจักรกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่นั้น ๆ เช่น กรมทางหลวง เป็นต้น
2. ร่วมวางแผนการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง
3. เตรียมจัดการจราจรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจร
4. ขออนุญาตใช้น้ำ และสถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล ตลอดจนใบอนุญาตอื่น ๆ กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
5. ตรวจสอบรายการเครื่องจักรเครื่องมือ หรืองานที่ต้องดำเนินการด้วยกัน เช่น การจัดเตรียมท่อที่จะ ต้องใช้ดึงการเชื่อมต่อท่อ หรือการเชื่อมประสานท่อเดิม และอื่น ๆ
6. ร่วมวางแผนการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ว่าจ้างผู้ควบคุม ตลอดจนแผนการสื่อสารในกรณีฉุกเฉิน หรือเกิดเหตุสุดวิสัย
ขั้นตอนการติดตั้ง เครื่องจักร และก่อสร้างบ่อรับและบ่อส่ง
1 จัดสร้างทางเข้าออกของบริเวณที่ติดตั้งเครื่องจักร ปรับพื้นที่ให้ได้ระดับและแข็งแรง เพื่อที่จะสามารถ ติดตั้งเครื่องจักรได้โดยต้องการพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องเจาะกว้างยาวประมาณ 3 x 10 เมตร พื้นที่และทางเข้าบดอัดแน่นเพื่อรองรับยานยนต์การขนย้ายเครื่องจักรก้านเจาะและอุปกรณ์อื่นได้
2 ปรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างบ่อรับ (Exit Pit) และบ่อส่งท่อ(Entry Pit) โดยให้มีทางเข้า-ออกสามารถรองรับ ยานยนต์หรือเครื่องจักร ที่จะลา เลียง หรือ ส่งท่อเข้ามาที่ปลายหลุมเจาะ (บ่อรับท่อ) และยังต้องใช้รถดูดสิ่ง ปฏิกูลเข้า-ออกสะดวก
ขั้นตอนการปฏิบัติการขุดเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling: HDD)
1.Pilot Drill
การปรับตั้งค่าของเครื่องตรวจจับ สัญญาณเจา้หนา้ที่ผู้ควบคุมการขุดเจาะ (Supervisor) จะนำเฉพาะ หัวเจาะที่บรรจุตัวส่งสัญญาณอิเลคโทรนิค (Digitrak Eclipse Transmitters) มาทำการปรับตั้งค่า (Calibration) กับเครื่องรับ (Digitrak Eclipse iGPS Receiver) บนพื้นดิน ที่เราสามารถวัดระยะความห่างด้วยสายวัด เพื่อตรวจเช็คความแม่นยำ ของเครื่องมือโดย Supervisor เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดก่อนที่จะเริ่มการเจาะ การขุดเจาะเริ่มโดยการเจาะนำ (Pilot Drill) โดยใช้หัวเจาะ ซึ่งหัวเจาะจะถูกดันและหมุนด้วยระบบไฮโดรลิค ขณะเจาะจะมีการฉีดสารละลาย (Drilling Fluids) เข้าไปหล่อลื่นหัวเจาะระยะของการเจาะแต่ละช่วงมีความ ยาว 4.50 เมตร ซึ่งเท่ากับความยาวของก้านเจาะแต่ละท่อน ภายในหัวเจาะที่บรรจุตัวส่งสัญญาณอิเลคโทรนิค (Digitrak Eclipse Transmitters) ไว้จะส่งสัญญาณขึ้นมายังเครื่องรับ (Digitrak Eclipse iGPS Receiver) ที่อยู่บนพื้นดิน ซึ่งเครื่องรับ (Digitrak Eclipse iGPS Receiver) สามารถบอกตำแหน่ง ความลึก มุม อุณหภูมิ ของ หัวเจาะ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเจาะจะแจ้งข้อมูลไปยังผู้ควบคุมเครื่องจักรว่าหัวเจาะกำลังเดินไป ตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ขณะเดียวกันผู้ควบคุมเครื่องจักรก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเจาะถึงความดัน (Pressure) และอุณหภูมิต่าง ๆที่เกิดขึ้นในขณะการเจาะ ทั้งนี้ในการเจาะของแต่ละช่วงก้านเจาะ(Drill Pipe) ซึ่งถ้าเกิดความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือต่ำลงจนผิดสังเกตุ ผู้ควบคุมเครื่องจักรจะหยุด การทำงานชั่วคราว เพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเจาะรวมถึงผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการและวิศวกรสนามของผู้ว่าจ้างเพื่อ วิเคราะห์หาสาเหตุของความดัน (Pressure) อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปจนผิดสังเกตุ และหาวิธีการแก้ไขหากจำเป็นจะมีการเบี่ยงทิศออกไปจากแนวที่กำหนดหรือดึงหัวเจาะให้ถอยหลังและปรับแนวให้ถูกต้อง และเจาะ ไปจนถึงจุดหมายที่บ่อรับ (ดังรูป)
2 Back Reaming
เมื่อหัวเจาะ ๆ ถึงที่หมาย (บ่อรับ) ตามกำหนดแล้วหัวเจาะจะถูกถอดออก เพื่อใส่หัวคว้าน (Reamer) มีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับตามต้องการ เพื่อขยายแนวเจาะที่เจาะไว้ให้ใหญ่มากกวา่ ขนาดของท่อที่จะทำการ ดึง เช่น ท่อขนาด 18” ต้องใช้หัวคว้าน (Reamer) เริ่มตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง10” และเพิ่มขนาดเป็น 16” และ 24” ตามลำดับทั้งนี้ในการคว้านของแต่ละช่วงกว้านเจาะ (Drill Pipe) ในขั้นตอนการคว้าน (Back Reamer) นี้จะฉีดสารละลายเบนโทไนท(์ Bentonite) โพลิเมอร์ (Polymer) สารฟองสบู่ (Drill Det) ทั้งนี้การ ผสมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพชนิดของดิน เพื่อช่วยในการหล่อลื่น และสร้างผนังป้องกันดินมิให้พังภายในอุโมงค์ฉีดลงไปตามก้านเจาะไปยังหัวคว้าน (Reamer) ที่หมุนอยู่ตลอดเวลาขณะที่หัวคว้านถูกดึงกลับจะต่อก้าน เจาะทางฝั่งบ่อรับ (Exit Pit) ตามหลังตัวตัดการหมุน (Swivel) ซึ่งต่อกับหัวคว้านไปจนถึงบ่อส่ง (Entry Pit) การคว้าน (Back Reaming) จะทำจนได้ขนาดของอุโมงค์ที่จะวางท่อตามขนาดที่ต้องการ(ดังรูป)
อนึ่งทุกก้านเจาะของขบวนการ Back Reaming Process ถ้ามาตราวัดของเครื่องจักรแสดงความดัน (Pressure) และ อุณหภูมิ ที่ผิดปกติจนผิดสังเกตุ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเจาะ ผู้ควบคุมเครื่องจักร ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการและวิศวกร สนามของผู้ว่าจ้าง จะร่วมกัน ปรึกษา และแก้ปัญหาเช่นเดียวกับขบวนการ Pilot Drill Process ข้างต้น
3. Pulling Pipes
เมื่อคว้าน Back Reamer จนได้ขนาดและไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการวางท่อจริงแล้ว จึงทำการดึง ท่อหรือกลุ่มท่อโดยการดึงเข้าไปแทนที่ก้านเจาะ(Drill Pipe) ขั้นตอนในการดึงท่อจะมีอุปกรณ์และวิธีทำคล้าย กับการคว้าน (Back Reamer) แทนที่จะนำก้านเจาะมาต่อที่ปลายของตัวตัดการหมุน (Swivel) ซึ่งต่อกับหัวคว้าน ก็จะนำหัวดึงท่อมาต่อแทน ซึ่งหัวดึงนี้จะเชื่อมติดกับตัวท่อและปิดไม่ให้ดินหรือส่วนผสม (Bentonite) เข้าไป ภายในท่อจนการดึงท่อแล้วเสร็จ(ดังรูป)
ทำการดึง ท่อหรือกลุ่มท่อโดยการดึงเข้าไปแทนที่ก้านเจาะ(Drill Pipe) ขั้นตอนในการดึงท่อจะมีอุปกรณ์และวิธีทำคล้าย กับการคว้าน (Back Reamer)