เปรียบเทียบคุณสมบัติท่อ HDPE,ท่อ PVC,ท่อซีเมนต์ใยหิน,ท่อเหล็กเหนียว
คุณเคยประสบปัญหาการเลือกท่อให้เหมาะสมกับงานหรือไม่? ถ้าเคย ก็แปลว่าเราเพื่อนกัน ไม่ว่าจะเป็น ท่อ HDPE ท่อ PVC ท่อซีเมนต์ใยหิน ท่อเหล็กเหนียว เราควรเลือกใช้อะไรเพื่อการใช้งานที่เหมาะที่ประหยัดต้นทุนและการใช้งานทีถูกต้องมากที่สุด เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่ใช้น้อย แต่ทุกปัญหาจะหมดไป เมื่อเราทำตารางเปรียบเทียบมาให้คุณแล้ว หลังจากที่เคยเปรียบไปใน ท่อ PVC กับท่อ HDPE เลือกท่อไหนดี บทความนี้มีคำตอบ
การเปรียบเทียบคุณสมบัติท่อ HDPE กับท่อชนิดต่างๆ
คุณสมบัติท่อ | ท่อ HDPE | ท่อ PVC | ท่อซีเมนต์ ใยหิน | ท่อเหล็กเหนียว |
---|---|---|---|---|
1.น้ำหนักท่อ (weight) (ความหนาแน่นของน้ำ = 1,000./ลบม.) |
ท่อ pe เบา (ความหนาแน่น ~ 955 กก./ลบม.) |
ท่อ pvcเบา (ความหนาแน่น ~ 1,430 กก./ลบม.) (ลอยน้ำ) Light-weighted (density:1,430 kg/m3) |
หนักกว่าท่อ HDPE 2-3 เท่า (ความหนาแน่น ~ 2,450 กก./ลบม.) ~-x2-3 heavier than HDPE pipes |
หนักกว่าท่อ HDPE 7-8 เท่า (ความหนาแน่น ~ 7,000-7,800 กก./ลบม.) ~-x7-8 heavier than HDPE pipes |
2.การขนส่ง | ท่อ peน้ำหนักเบากว่า บรรทุกได้มากกว่า สะดวกในการขนสำหรับท่อขนาดเล็กกว่า 140 มม. สามารถขดเป็นม้วนได้ -no more than 140 mm. of bending pipes are portable |
น้ำหนักเบากว่า บรรทุกได้มากกว่า ไม่สามารถขดเป็นม้วนได้ | ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการยก และจัดวางโดยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะท่อมักแตกหักได้ Iifting equipment and laying arrangement are carefully monitored due to a fragile pipe |
น้ำหนักมากต้องเตรียมอุปกรณ์ในการยกและจัดวาง heavy weight requires lifting and laying equipment |
3.การโค้งงอ (Bending) | ได้ 25 ~ 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ~25~40x of the diameter |
ไม่ได้ non-bendable |
ไม่ได้ non-bendable |
ไม่ได้ non-bendable |
4.ความเสียดทานการไหลของน้ำในท่อ (c = ค่าสัมประสิทธิ์การไหลของน้ำในท่อ, Waterlow Roughness) |
C ~ 150 ~C = 150 |
C ~ 150 ~C = 100 (สำหรับท่อที่ใช้ไปนาน ๆ) C=150 / C=100 (for a longer pipr's usage) |
C ~ 140 C ~ 100 (สำหรับท่อที่ใช้ไปนานๆ) C = 140 (for new pipe) C= 100 (for a longer pipe's usage) |
C ~ 120 C ~ 100 (สำหรับท่อที่ใช้ไปนานๆ) C = 120 (for new pipe) C= 100 (for a longer pipe's usage) |
5.ความเร็วของคลื่นความดันในท่อ (Velocity of innee Pressure) |
200 ~ 400 เมตร/นาที 200 ~ 400 meter/minute |
200 ~ 400 เมตร/นาที 200 ~ 400 meter/minute |
600 ~ 800 เมตร/นาที 600 ~ 800 meter/minute |
1,000 ~ 1,200 เมตร/นาที 1,000 ~ 1,200 meter/minute |
6.ทนแรงดันสูงสุด(Resistance) | 25 กก./ตรซม. 25 kg/cm3. |
13.5 กก./ตรซม. 13.5 kg/cm3. |
25 กก./ตรซม. 25 kg/cm3. |
25 กก./ตรซม. 25 kg/cm3. |
7.ทนอุณหภูมิสูงสุด | -40 ถึง 80 องศาเซลเซียส | 0 ถึง 65 องศาเซลเซียส | 30 ถึง 45 องศาเซลเซียส | 100 ถึง 300 องศาเซลเซียส |
8.อายุการใช้งานสูงสุด | ท่อ peมากกว่า 50 ปี | ท่อ pvc มากกว่า 30 ปี | 10-20 ปี | 10-30 ปี |
9.ผิวภายในท่อ | ไม่เป็นสนิมและไม่จับคราบหินปูน | ไม่เป็นสนิมและไม่จับคราบหินปูน | มีค่า water Albsirbion = 20% (จับคราบหินปูน) | ไม่เป็นสนิมและไม่จับคราบหินปูน |
10.ความทนทานต่อสารเคมี | ทนต่อสารเคมี กรด ด่าง ได้ดี | ทนต่อสารเคมี กรด ด่าง ได้ดีเว้นบางชนิด | ไม่สามารถทนการกัดกร่อนจากสารเคมี | ไม่สามารถทนการกัดกร่อนจากสารเคมี |
11.ความต้านทานการสึกกร่อน | สูงและยังทนต่อสภาพแวดล้อม | สูง | น้อยและทนทานต่อกรด,เกลือในดินได้น้อย | ไม่สามารถทนการกัดก่อนจากสารเคมี |
12.ความต้านทานการกระแทก | ทนต่อการกระแทกได้ดี ไม่ร้าวหรือ แตกหัก | ทนต่อการกระแทกได้ | แตกหักง่าย | ทนต่อการกระแทกได้ดีมาก |
13.ความทนทานต่อการกระแทก (ใช้งานที่ร่ม) | ทนต่อการกระแทกได้ดี ไม่ร้าวหรือ แตกหัก | ทนต่อการกระแทกได้ | แตกหักง่าย | ทนต่อการกระแทกได้ดีมาก |
14.ความทนทานต่อการกระแทก (ใช้งานที่แจ้ง) | ทนต่อการกระแทกได้ดี ไม่ร้าวหรือ แตกหัก | ความทนทานต่อการกระแทกลดลง (เปราะ) | แตกหักง่าย | ทนต่อการกระแทกได้ดีมาก |
15.ความปลอดภัยในการใช้เป็นท่อน้ำดื่ม | มีมาตรฐานรับรองระบุให้ใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ ตาม มอก.982-2548 | มีมาตรฐานรับรองระบุให้ใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ ตาม มอก.17-2523 | ใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ | ใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ |
16.ความปลอดภัยในการใช้ท่อน้ำระยะยาว | ความปลอดภัยสูง : ไม่มีสารเป็นพิษปนเปื้อนออกมากับน้ำ | มีสาร VCM ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หากได้รับติดต่อกันเป้นระยะนาน | มีสารประกอบของซีเมนต์ปนเปื้อน | มีส่วนประกอบของสนิมปนเปื้อนออกมากับน้ำ |
17.การเชื่อมต่อ |
- เชื่อมต่อด้วยความร้อน (Butt Fusion) |
- ต่อด้วยแหวนยาง (Rubber Ring Joint) - น้ำยาเชื่อมประสาร - Mechanival Joint |
- ต่อด้วยแหวนยาง (Rubber Ring Joint) - ข้อต่อจีโบลท์ |
- เชื่อมประสารโลหะ - ข้อต่อเกลียว - Mechanival Joint |
18.การวางท่อใต้ดิน | การเชื่อมท่อสามารถทำได้บริเวณผิวจราจร และเชื่อมเป็นช่วงยาว ๆ และจึงค่อยวางท่อลงในระดับความลึกที่ต้องการ | ปกติเชื่อมต่อท่อในร่องดิน | ต้องเตรียมอุปกรณ์ยกและจัดวางและปิดหน้าดินให้กว้างเพื่อทำการเชื่อมต่อท่อในร่องดิน | ต้องเตรียมอุปกรณ์ยกและจัดวางและปิดหน้าดินให้กว้างเพื่อทำการเชื่อมต่อท่อ |
19.ระยะเวลาการทำงาน (การเชื่อมต่อท่อ ขนาด 100 มิล ระยะทาง 1,000 เมตร โดยสภาวะ (Working period)) | สามารถที่จะใช้ท่อความยาว 100 เมตรได้ ดังนั้นจุดเชื่อมต่อท่อจึงน้อยประมาณ 12 จุด สามารถทำงานได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 วัน | เมื่อใช้ท่อความยาว 6 เมตร ทำให้มี จุดเชื่อม ต่อมาก ประมาาณ 169 จุด ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน | เมื่อใช้ท่อความยาว 5 เมตร ทำให้มี จุดเชื่อม ต่อมาก ประมาาณ 169 จุด ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วัน | เมื่อใช้ท่อความยาว 6 เมตร ทำให้มี จุดเชื่อม ต่อมาก ประมาาณ 169 จุด ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วัน |
20.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ในกรณีจากข้อ 19 (ไม่รวมอุปกรณ์เช่น วาล์ว , ปั้ม) | ใช้ท่อพี.อี เป็นเกณฑ์การเปรียบเทียบเท่ากับ 100 % (เชื่อมต่อชนด้วยความร้อน) | ประมาณ 200 - 250% (ต่อด้วยน้ำยาเชื่อมประสาร) |
ประมาณ 500 - 600% | ประมาณ 500 - 600%(ต่อด้วยข้อต่อเกลียว) |