ขั้นตอนการทดสอบกว่าจะเป็น ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

ขั้นตอนการทดสอบกว่าจะเป็น ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

ขั้นตอนการทดสอบกว่าจะเป็น ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก (Steel reinforced polyethylene corrugated pipe) ซึ่งต่อไปในมาตรฐานนี้จะเรียกว่า "ท่อลอน" หมายถึง ท่อลอนพอลิเอทิลีนที่เสริมความแข็งแรงของท่อด้วยเหล็กที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัววี (Helical V-shaped) หรือรูปตัวยู (Helical U-shaped) ไว้ภายในเนื้อพลาสติกของท่อมีทั้งแบบผนังชั้นเดียว ผนังสองชั้น และผนังสามชั้น โดยมอก.2764 ได้ครอบคลุมท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กที่มีขนาดระบุ ตั้งแต่ 200 มม. ถึง 2,000 มม. ใช้สำหรับงานท่อใต้พื้นดิน งานท่อที่ไม่มีจุดประสงค์ในการรับแรงดันภายใน เช่น ท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง และท่อสำหรับรวบรวมน้ำเสีย

ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีมาตรฐานทดสอบเกี่ยวข้องคือ มาตรฐาน ASTM F2435-15 และ มอก.2764  

พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เสริมแผ่นเหล็กที่ลอน

โดยได้กำหนดขอบเขตของวัสดุท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กไว้ว่า

1.พอลิเอทิลีน (Polyethylene)
- ต้องเป็นคอมพาวด์ใหม่ที่ยังไม่ผ่านการขึ้นรูป
- ต้องมีคุณสมบัติไปตาม มอก. 2559 ผู้ทำต้องพิสูจน์หรือแสดงเอกสารรับรองคุณภาพหรือผลวิเคราะห์จากสถาบันที่เชื่อถือได้หรือหน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประกาศ

2.เหล็ก (Steel)
- ต้องเป็นวัสดุใหม่ที่ยังไม่ผ่านการขึ้นรูป
- มวลสังกะสีที่เคลือบ แต่ละด้านต้องไม่น้อยกว่า 34 g/m*2 การทดสอบให้ปฏิบัติตาม มอก.2223

3. ความต้านแรงดึง
- ต้องไม่น้อยกว่า 270 MPa การทดสอบให้เป็นไปตาม มอก. 2172 เล่ม 1 โดยเตรียมชิ้นงานทดสอบให้เป็นไปตามชิ้นทดสอบ No.5 ใน ตารางที่ ข.1 ของ มอก.2172 เล่ม1

ขอบเขตขั้นตอนการทดสอบท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

1. ข้อกำหนดทั่วไป
- ให้เตรียมชิ้นทดสอบที่อุณหภูมิ 23 +/- 2 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50+/- 5 เปอร์เซ็น เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
- หากมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ทดสอบที่อุณหภูมิ 23 +/- 2 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50+/- 5 เปอร์เซ็น

Differential scanning colorimeter วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน

Differential scanning colorimeter วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน

2. การวัดขนาด และมิติ ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ประกอบด้วย
- เส้นผ่าศูนย์กลาง ให้รายงานเป็นค่าเฉลี่ยของค่าที่วัดได้ทั้ง 6 ค่า
- ระยะลอน ให้รายงานเป็นค่าต่ำที่สุด
- ความหนาของผนังท่อที่สัมผัสน้ำ ให้รายงานเป็นค่าต่ำที่สุด
-ความหนาเหล็ก ให้รายงานเป็นค่าต่ำที่สุด


การวัดขนาดท่อลอน
การวัดขนาด และมิติ

3. มวลต่อความยาว 
- เครื่องชั่งที่ชั่งละเอียดถึง 0.5 กิโลกรัม
- เครื่องมือที่วัดละเอียดถึง 1 มิลลิเมตร

4. ความหนาของพอลิเอทิลีนที่เคลือบบนเหล็ก ให้วัดความหนาของผนังท่อลอนส่วนที่เป็นลอนและมีเหล็กเสริมอยู่ภายใน 
*กรณีท่อลอนผนังสามชั้นให้วัดความหนาของผนังท่อลอนชั้นนอกที่มีเหล็กเสริมด้วย

5 ความแข็งตึง (Stiffness) 
- เครื่องทดสอบความแข็งตึงตาม ASTM D2412 ที่มีแผ่นวางชิ้นทดสอบขนาดใหญ่กว่าขนาดของชิ้นทดสอบและมีความละเอียดในการอ่านระยะของแผ่นกดถึง 0.1 มิลลิเมตร
- ให้รายงานเป็นค่าต่ำสุดที่ได้

Universal testing machine ทดสอบความแข็ง

Universal testing machine ทดสอบความแข็ง

ทดสอบพลาสติกHDPE

ห้องทดสอบภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025